เมนู

เพราะฉะนั้น เนื้อทรงแสดงปริยายแห่งความหวังอย่างนั้น ๆ ความ
ปรารถนาที่มีอธิษฐานภาวนาด้วยการตั้งจิตเป็นบริขาร เหตุในความที่บุญนิธิ
นั้น ให้ผลที่น่าใคร่ทุกอย่างนั้น จึงตรัสว่า
เทวดาและมนุษย์ ปรารถนานักซึ่งอิฐผลใด ๆ
อิฐผลทุกอย่างนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.


พรรณนาคาถาที่ 11


บัดนี้ ผลนั้นใดทุกอย่าง อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินั้น
เมื่อทรงแสดงผลนั้นเป็นอย่าง ๆ จึงตรัสคาถาอย่างนี้ว่า ความมีวรรณะงาม ความ
มีเสียงเพราะเป็นต้น.
บรรดาคาถาเหล่านั้น จะวินิจฉัยในคาถาที่ 1 ก่อน ความมีฉวีวรรณ
งาม ความมีผิวหนังคล้ายทอง ชื่อว่าความมีวรรณะงามนั้น บุคคลย่อมได้ด้วย
บุญนิธินั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด
ก่อนตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน เป็นคนไม่โกรธ
ไม่มากด้วยความคับแค้นใจ ถึงถูกเขาว่ากล่าวมาก ๆ ก็
ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่ใช้กำลัง ไม่ทำ
ความกำเริบ โทสะ และความไม่มีเหตุปัจจัยให้ปรากฏ
ทั้งเป็นผู้ให้ผ้าปูลาด ผ้านุ่งห่มเนื้อละเอียดอ่อน ผ้า
เปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อเอียด ผ้ากัมพล
เนื้อละเอียดแม้อันใด ตถาคตนั้น เพราะทำสร้างสม
กรรมนั้น ฯลฯ จุติจากภพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ เป็นผู้มีวรรณะดังทอง
มีผิวคล้ายทอง.

ความเป็นผู้มีเสียงดังพรหม ความเป็นผู้พูดเสียงดังนกการะเวก ชื่อว่า
ความเป็นผู้มีเสียงเพราะ ความเป็นผู้มีเสียงเพราะแม้นั้น อันบุคคลย่อมได้ก็
ด้วยบุญนิธินี้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งทลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด
ก่อน ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน ละวาจาหยาบ
เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่วาจาไม่มีโทษเป็นสุข
หู น่ารัก จับใจ วาจาชาวเมืองชนเป็นอันมากรักใคร่
พอใจ. แม้อันใด เพราะทำสร้างสมกรรมนั้น ตถาคต
นั้น จุติจากภพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหา-
ปุริสลักษณะนี้ คือเป็นผู้มีชิวหาใหญ่ มีเสียงดังพรหม
พูดเสียงดังนกการะเวก.

บทว่า สุสณฺฐานา ได้แก่ความมีทรวดทรงดี ท่านอธิบายว่า ความ
ตั้งอยู่แห่งอวัยวะใหญ่น้อย ในอันที่ควรอิ่มเต็มและกลมโดยความเป็นอวัยวะ
อันอิ่มเต็มสละกลม เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด
ก่อน ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน หวังประโยชน์
เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมปลอดจาก
โยคะ แก่ชนเป็นอันมาก พึงยังชนเหล่านี้ให้เจริญ
ด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา พึงให้เจริญ
ด้วยไร่นาทที่ดิน ด้วยสัตว์สองเท้าสี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา
ด้วยทาสกรรมกรชาย ด้วยญาติมิตรพวกพ้องแม้อันใด
เพราะทำสร้างสมกรรมนั้น ฯลฯ ตถาคตนั้น จุติจาก

ภพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะ
3 เหล่านี้คือ มีพระกายครึ่งบนดังสีหะ มีระหว่างพระ-
อังสะ [คือพระอุระ] งาม และมีพระองค์กลมเสมอ

อย่างนี้เป็นต้น.
บทแห่งพระสูตรทั้งหลาย ที่ทำให้การได้สำเร็จด้วยบุญนิธินี้ แม้ใน
ที่อื่นจากนี้ ก็พึงนำมาจากที่นั้น ๆ กล่าวโดยนัยนี้. แต่เพราะกลัวพิศดารเกิน
ไป จึงได้แต่สังเขปไว้ บัดนี้ ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาบทที่เหลือ
ทั่วทั้งเรือนร่างพึงทราบว่า รูป ในคำว่า สุรูปตา นี้. เหมือนใน
ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สภาพอันอากาศห้อมล้อม ย่อมนับว่ารูปทั้งนั้น.
ความที่รูปนั้นดี ชื่อว่า ความมีรูปสวย ท่านอธิบายว่า ไม่ยาวนัก ไม่สั้นนัก
ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก. บทว่า อาธิปจฺจํ ได้แก่
ความเป็นใหญ่ อธิบายว่า ความเป็นนาย โดยเป็นกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น.
บทว่า ปริวาโร ได้แก่ สำหรับคฤหัสถ์ สมบัติคือชนของตนและชนโดยรอบ
สำหรับบรรพชิต สมบิติคือบริษัท. ความเป็นใหญ่และความมีบริวาร ชื่อว่า
ความเป็นใหญ่และมีบริวาร. ก็บรรดาอิฐผลเหล่านั้นพึงทราบว่า สมบัติคือ
โภคะ ตรัสด้วยความเป็นใหญ่ สมบัติคือชนของตนและชนโดยรอบ ตรัสด้วย
ความมีบริวาร. ด้วยคำว่า สพฺพเมเตน ลพฺภติ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม
ทรงแสดงว่า คำนั้นได้ตรัสว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายปรารถนาผลใด ๆ
ผลนั้น ๆ ทั้งหมด อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ในคำนั้นอิฐผลมีความมี
วรรณะงามเป็นต้น ที่ตรัสไว้ส่วนแรกก่อนแม้นี้ พึงทราบว่า ผลทั้งหมดนั้น
บุคคลได้ด้วยบุญนิธินี้.

พรรณนาคาถาที่ 12


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมบัติของเทวดาและมนุษย์ ที่ต่ำ
กว่าสมบัติคือความเป็นพระราชา ที่บุคคลพึงได้ด้วยบุญญานุภาพ ด้วยคาถาม
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงแสดงสมบัติคือความเป็นพระราชาทั้งสองนั้น จึง
ตรัสคาถานี้ว่า
ความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ความเป็นพระ
ราชาผู้ใหญ่ สุขในความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอัน
น่ารัก แม้ความเป็นพระราชาแห่งเทวดาในหมู่ทิพย์.
อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเทสรชฺชํ ได้แก่ ความเป็นพระราชา
แห่งประเทศ ในประเทศหนึ่งๆ แม้แต่ทวีปเดียวไม่ถึงทั้งหมด. ความเป็นพระ
ราชาผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อิสสริยะ. ทรงแสดงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิด้วย
บทนี้. สุขของจักรพรรดิ ชื่อว่า จักกวัตติสุข. บทว่า ปิยํ ได้แก่ น่าปรา-
รถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. ทรงแสดงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีมหาสมุทร
ทั้งสี่เป็นขอบเขตด้วยบทนี้. ความเป็นพระราชาในหมู่เทวดา ชื่อว่าความเป็น
พระราชาใน หมู่เทพ. เป็นอันทรงแสดงความเป็นพระราชาของเทวดาแห่ง
มนุษย์ทั้งหลายมีพระเจ้ามันธาตุราชาเป็นต้นด้วยบทนี้. ด้วย บทว่า อปิ
ทิพฺเพสุ
นี้ ทรงแสดงความเป็นพระราชาของเทวดาแห่งมนุษย์ทั้งหลาย แม้ที่
เกิดในหมู่ทิพย์ทั้งหลาย ที่เรียกกันว่าทิพย์ เพราะมีในภพทิพย์. ด้วยบทว่า
สพฺพเมเตน ลพฺภติ ทรงแสดงว่า ในคำที่ตรัสไว้ว่า ยํ ยํ เทวาภิปตฺ-
เถนฺติ สพฺพเมเตน ลพฺภติ
อิฐผลมีความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศที่
ตรัสเป็นส่วนที่สองแม้นี้ พึ่งทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วย
บุญนิธินี้.